วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ROBOT

หุ่นยนต์ หรือ โรบอต (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน
หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ 1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็น
แขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่า[1]
ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่าง
สุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่[2] หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่างมนุษย์ เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทย สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยนช์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต

Read More

ประวัติศาสตร์แดน..เกาหลี


ประวัติศาสตร์แดน..เกาหลี
มนุษย์เริ่มเข้าไปตั้งรกรากในบริเวณที่เป็นประเทศเกาหลีในปัจจุบันเมื่อประมาณ 500,000 ปี ก่อนอาณาจักรแรกได้แก่ โคโชซอน (โชซอนโบราณ) ตั้งขึ้นเมื่อ 2,333 ปี ก่อนคริสตศักราช และในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสตศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมดและดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูเรียอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร คือ โคกูเรียว แพ็กเจ และชิลลา นับเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจสูงสุดในแถบนั้น เป็นที่รู้จักกันว่า ยุคแห่งสามอาณาจักร ระหว่าง 57 ปีก่อน คริสตศักราช ถึงปี ค.ศ. 668ในปี ค.ศ.668 และ 660 ตามลำดับ อาณาจักร โคกูเรียว และแพ็กเจ ได้พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรชิลลา จึบงเป็นการรวมเอาดินแดนในคาบสมุทรเข้าด้วยกันในปี ค.ศ. 676 ยุคชิลลารวมอาณาจักร (ปี ค.ศ. 676-935) นับเป็นยุคทองของวัฒนธรรมเกาหลี โดยเฉพาะทางด้านพุทธศิลป์ ต่อมาในยุคอาณาจักรโคเรียว (ปี ค.ศ.918-1392) มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชนชั้นปกครองขึ้น พุทธศาสนาได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติ และมีอิทธิพลต่อระบบการเมืองการปกครองเป็นอย่างมาก ชื่อประเทศเกาหลีก็มาจากคำว่า โคเรียว นั่นเอง ปี ค.ศ.1392-1910 อยู่ในสมัยราชวงศ์ โชซอน อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศเกาหลี มีการปฏิรูปการเมืองการปกครองอย่างเอาจริงเอาจัง ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือ การยกย่องให้ลัทธิขงจื้อกลายเป็นคติธรรมประจำชาติ การสร้างสรรค์งานด้านวรรณศิลป์ และการประดิษฐ์ตัวอักษร ฮันกึล ในปี ค.ศ.1443 ทำให้ยุคนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมเกาหลี มีเมืองฮันยาง ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อโซล เป็นเมืองหลวงในปี ค.ศ.1394 ปราสาทและกำแพงเมืองจากในยุคนี้ยังคงมีให้เห็นจนกระทั่งปัจจุบันราชวงศ์โชซอนได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1910 ภายหลังการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 35 ปี จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลงในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 กองทัพญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และถอนกำลังออกจากประเทศเกาหลีซึ่งถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ คือประเทศเสรีทางใต้และประเทศคอมมิวนิสต์ทางเหนือ สามปีต่อมาประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งอยู่ทางใต้จึงจัดตั้งรัฐบาลอิสระได้สำเร็จสงครามเกาหลีได้ระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.1950 เมื่อเกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ และในที่สุดก็มีการลงนามในสัญญาสงบศึกในปี ค.ศ.1953 หลังสงครามดังกล่าว เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการฟื้นฟูประเทศให้มั่นคงและมั่งคั่งอีกครั้งหนึ่ง

Read More

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดใหญ่ 2009 หวัดสายพันธุ์ใหม่ ที่ระบาดทั่วโลก


โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีชื่อเรียกในประเทศต่างๆ หลายชื่อ คือ ไข้หวัดเม็กซิโก, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอชวัน เอ็นวัน 2009, ไข้หวัดใหญ่จากสุกร (Swine Influenza) เป็นต้น เป็นไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ ตามปกติมีการระบาดในหมูเท่านั้น สามารถพบได้ทั้งในหมูเลี้ยง และหมูป่า ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ ทั้ง H1N1, H1N2 และ H3N2 แต่บางครั้งหมูอาจมีเชื้อไข้หวัดอยู่ในตัวมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดการผสมกันของยีนได้ ทำให้เกิดเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่สามารถข้ามสายพันธุ์มาติดต่อยังมนุษย์ได้ เริ่มต้นจากการสัมผัสกับหมูที่เป็นโรค สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เริ่มแพร่ระบาดในประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายๆ ประเทศทั่วโลกนั้น เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคน และไม่เคยพบมาก่อน เนื่องจากเป็นการผสมกันของสารพันธุกรรมไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์, ไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และไข้หวัดหมูที่พบในทวีปเอเชีย และยุโรป ทำให้องค์การอนามัยโลกต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เนื่องจากหวั่นวิตกว่า เชื้อ H1N1 อาจจะกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่อันตรายยิ่งขึ้น

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอมขอขอบคุณภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, อ.ส.ม.ท.

Read More

Michael Jackson - BEST EVER MOONWALK

Read More

กาลิเลโอ กาลิเลอี


(อิตาลี: Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักปรัชญาชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่" "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์" และ "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่" การศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเร่งคงที่ ซึ่งสอนกันอยู่ทั่วไปในระดับมัธยมศึกษาและเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาฟิสิกส์ก็เป็นผลงานของกาลิเลโอ รู้จักกันในเวลาต่อมาในฐานะวิชาจลนศาสตร์ งานศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญของกาลิเลโอได้แก่ การใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์คาบปรากฏของดาวศุกร์ การค้นพบดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี ซึ่งต่อมาตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า ดาวกาลิเลียน รวมถึงการสังเกตการณ์และการตีความจากการพบจุดดับบนดวงอาทิตย์ กาลิเลโอยังมีผลงานด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ซึ่งช่วยพัฒนาการออกแบบเข็มทิศอีกด้วย การที่ผลงานของกาลิเลโอสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสกลายเป็นต้นเหตุของการถกเถียงหลายต่อหลายครั้งในชีวิตของเขา เพราะแนวคิดเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลนั้นเป็นแนวคิดหลักมานานแสนนานนับแต่ยุคของอริสโตเติล การเปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีข้อมูลสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนจากกาลิเลโอช่วยสนับสนุน ทำให้คริสตจักรโรมันคาทอลิกต้องออกกฎให้แนวคิดเช่นนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะขัดแย้งกับการตีความตามพระคัมภีร์ กาลิเลโอถูกบังคับให้ปฏิเสธความเชื่อเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในบ้านกักตัวในความควบคุมของศาลศาสนาโรมัน

Read More