วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติศาสตร์แดน..เกาหลี


ประวัติศาสตร์แดน..เกาหลี
มนุษย์เริ่มเข้าไปตั้งรกรากในบริเวณที่เป็นประเทศเกาหลีในปัจจุบันเมื่อประมาณ 500,000 ปี ก่อนอาณาจักรแรกได้แก่ โคโชซอน (โชซอนโบราณ) ตั้งขึ้นเมื่อ 2,333 ปี ก่อนคริสตศักราช และในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสตศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมดและดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศแมนจูเรียอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร คือ โคกูเรียว แพ็กเจ และชิลลา นับเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจสูงสุดในแถบนั้น เป็นที่รู้จักกันว่า ยุคแห่งสามอาณาจักร ระหว่าง 57 ปีก่อน คริสตศักราช ถึงปี ค.ศ. 668ในปี ค.ศ.668 และ 660 ตามลำดับ อาณาจักร โคกูเรียว และแพ็กเจ ได้พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรชิลลา จึบงเป็นการรวมเอาดินแดนในคาบสมุทรเข้าด้วยกันในปี ค.ศ. 676 ยุคชิลลารวมอาณาจักร (ปี ค.ศ. 676-935) นับเป็นยุคทองของวัฒนธรรมเกาหลี โดยเฉพาะทางด้านพุทธศิลป์ ต่อมาในยุคอาณาจักรโคเรียว (ปี ค.ศ.918-1392) มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชนชั้นปกครองขึ้น พุทธศาสนาได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติ และมีอิทธิพลต่อระบบการเมืองการปกครองเป็นอย่างมาก ชื่อประเทศเกาหลีก็มาจากคำว่า โคเรียว นั่นเอง ปี ค.ศ.1392-1910 อยู่ในสมัยราชวงศ์ โชซอน อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศเกาหลี มีการปฏิรูปการเมืองการปกครองอย่างเอาจริงเอาจัง ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือ การยกย่องให้ลัทธิขงจื้อกลายเป็นคติธรรมประจำชาติ การสร้างสรรค์งานด้านวรรณศิลป์ และการประดิษฐ์ตัวอักษร ฮันกึล ในปี ค.ศ.1443 ทำให้ยุคนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมเกาหลี มีเมืองฮันยาง ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อโซล เป็นเมืองหลวงในปี ค.ศ.1394 ปราสาทและกำแพงเมืองจากในยุคนี้ยังคงมีให้เห็นจนกระทั่งปัจจุบันราชวงศ์โชซอนได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1910 ภายหลังการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 35 ปี จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลงในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 กองทัพญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และถอนกำลังออกจากประเทศเกาหลีซึ่งถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ คือประเทศเสรีทางใต้และประเทศคอมมิวนิสต์ทางเหนือ สามปีต่อมาประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งอยู่ทางใต้จึงจัดตั้งรัฐบาลอิสระได้สำเร็จสงครามเกาหลีได้ระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.1950 เมื่อเกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ และในที่สุดก็มีการลงนามในสัญญาสงบศึกในปี ค.ศ.1953 หลังสงครามดังกล่าว เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการฟื้นฟูประเทศให้มั่นคงและมั่งคั่งอีกครั้งหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น