วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

มมส เข้ม!!!! stopdrink งดเหล้าเข้าพรรษา



สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการ “งดเหล้าเข้าพรรษาแบบบูรณาการ” ส่งเสริมการทำกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับองค์กรชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานภายนอก

ส่วนที่เหลือ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2552 ณ บริเวณลานชั้น 2 สำนักวิทยบริการ B มหาวิทยาลัยมหาสารคามผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “งดเหล้าเข้าพรรษา” โดยมี อาจารย์ ดร. ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา ประธานสภาคณาจารย์ กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน เพื่อสนับสนุนและเป็นแรงผลักดันพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหาสารคามด้านการบริการวิชาการสู่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมออกสู่สาธารณชน ชุมชน และท้องถิ่น เป็นการบริการวิชาการและเผยแพร่องค์ความรู้ ภายนอกมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกทั้งให้สภาคณาจารย์ อาจารย์ พนักงานวิชาการ บุคลากร นิสิตและนักเรียน ได้เห็นถึงคุณค่าในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา
กิจกรรมภายในงาน ได้มีการเสวนาวิชาการหัวข้อเรื่อง “ ลด ละ เลิก เหล้าทั้งเข้าและออกพรรษา” ผู้ร่วมเสวนาโดย พันตำรวจโทวันชัย ยังเทียน รองผู้กำกับการกลุ่มงานสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม แพทย์หญิงสุพิสชา ธีรศาสวัติ คณะแพทยศาสตร์ นายศุภชัย บุตรราช นายกเทศมนตรีตำบลท่าขอนยาง และนายสิทธิศักดิ์ เผ่าพันธุ์ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดำเนินรายการเสวนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิรัติ ปานศิลา ซึ่งได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น ในหลายประเด็น พอสรุปได้ดังนี้
สถานการณ์ปัญหา
ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย 13.59 ลิตรต่อคนต่อปี
มูลค่าโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงปี 2539 – 2544 เฉลี่ยสูงกว่าสองพันล้านต่อปี
อัตราตายต่อปีจากอุบัติเหตุจราจร ของไทยนั้นสูงกว่าเพื่อน โดยไทยตายเฉลี่ยปีละประมาณ 20 ต่อแสน ขณะที่ อินโดนีเซียประมาณ 15 ต่อแสน ศรีลังกาและอินเดียประมาณ 10 ต่อแสน และกลุ่มประเทศตะวันตก(อเมริกา ยุโรป) ประมาณ 5 ต่อแสน ในช่วงเวลาเดียวกัน (2539–2544)
ไทยสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 2.23% ของ GNP ประมาณ 70,000 ล้าน ในปี 2536 จากอุบัติเหตุจราจรอย่างเดียว หากนับความสูญเสียอื่นๆอันเป็นผลจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่น โรคตับ กระเพาะและการบาดเจ็บจากความรุนแรงที่แอลกอฮอล์มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวเลขดังกล่าวจะสูงกว่า แสนล้านต่อปี
แม้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อผลเสียต่อสุขภาพ แต่ว่า แนวโน้มการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยกลับสูงขึ้น ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ดื่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.6 แสนคนต่อปี และในแง่ของปริมาณการดื่มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีคนไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ราว 15.3 ล้านคน และคิดเป็นมูลค่าการบริโภค 125,000 ล้านบาทต่อปี
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในเชิงสุขภาพและสังคมในหลายด้าน ที่เห็นชัดเจนที่สุด ได้แก่ การที่ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขับขี่ยานพาหนะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรมากกว่าร้อยละ 50 ของที่เกิดทั้งหมด และเกี่ยวข้องกับการก่อความรุนแรงต่อครอบครัว และบุคคลอื่น ๆ ในลักษณะของการก่ออาชญากรรม อย่างไรก็ตาม ช่วงเทศกาลเข้าพรรษานับเป็นช่วงเทศกาลที่ชาวพุทธจำนวนมากถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปฎิบัติธรรม และจากการศึกษาวิจัย พบว่า ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเมื่อปี 2544 มีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงร้อยละ 11.8 ตอบว่าตั้งใจงดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษา (ประมาณจำนวนผู้งดดื่ม 1.8 ล้านคน และมูลค่าการบริโภคลดลง 3,600 ล้านบาท
ด้วยตระหนักในความสำคัญของผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคม และตระหนักในความสำคัญของเทศกาลเข้าพรรษา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการร่วมรณรงค์อย่างต่อเนื่องอย่างเข้มข้นและจริงจัง
นอกจากนี้ ภายในงาน ยังมีกิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เยาวชน ห่างไกลจากอบายมุข ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกวดวาดภาพ การนำเสนอคลิปวีดีโอ หัวข้อเรื่อง “ งดเหล้าเข้าพรรษาแบบบูรณาการ” และการแสดงบัลเล่ต์จากนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สภาคณาจารย์ มมส โทร. 1403 , 1404ภาพ / ข่าว บุณฑริกา ภูผาหลวง

Read More

'สั้นเต่อ-รัดติ้ว'ปัญหาใหญ่มหา'ลัย พูดง่าย แก้ยาก..


แฟชั่นชุดนักศึกษาสาวยุคนี้ที่ต้อง "สั้นเต่อ รัดติ้ว" เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมาเป็นระยะ แต่การแก้ไขปัญหากลับไม่สามารถทำได้โดยง่าย แม้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในยุคของ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จะเคยให้ความสนใจถึงขั้นมีแนวคิดผลักดันให้การแก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ และเสนอให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ทบทวนการบังคับใช้กฎระเบียบการแต่งกายของนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะการแต่งกายของนิสิตนักศึกษาหญิงอย่างจริงจังก็ตาม ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพล สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เคยสำรวจความคิดเห็นเรื่อง "ปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา"


ส่วนที่เหลือ โดยเก็บข้อมูลจากนิสิต นักศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั่วทุกภาคของประเทศ โดยร่วมมือกับบริษัท เอ็มเว็บ (ประเทศไทย) จำกัด ในการเก็บผลสำรวจบางส่วนผ่านเว็บไซต์สนุกดอทคอม ปรากฏว่าส่วนใหญ่เห็นว่า การแต่งกายของนิสิต นักศึกษาในปัจจุบันเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถึงร้อยละ 72.6 เพราะเห็นว่าจะก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม อาทิ การล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืน ร้อยละ 59.9 ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันและของตนเอง ร้อยละ 17.8 ผลสำรวจยังเห็นด้วยที่หน่วยงานเกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรมจะผลักดันการแก้ปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษา ให้เป็นวาระแห่งชาติ ถึงร้อยละ 68.5 ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อถามความเห็นกลุ่มตัวอย่างถึงมาตรการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาแล้วทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรใช้กฎระเบียบของสถาบันการศึกษามาเป็นตัวบังคับอย่างจริงจังอาทิ ตัดคะแนน หรือไม่ให้เข้าชั้นเรียน ร้อยละ 47.5 ใช้การรณรงค์หรือชักจูงใจให้นิสิต นักศึกษา หันมาแต่งกายให้เหมาะสม ร้อยละ 30.2 และใช้มาตรการทางกฎหมายในการบังคับให้ผู้ผลิต เลิกผลิตเสื้อนักศึกษาที่ฟิต โป๊ หรือมีขนาดเล็กจนเกินไป ร้อยละ 15.7


แหล่งที่มา :หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Read More

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

ผู้ชายวัยกลางคนที่ไม่เอาแต่นั่งๆนอนๆ หนีตายได้ไกล 10 ปี



มูลนิธิโรคหัวใจของอังกฤษ ศึกษาพบ คนที่ไม่ดูแลตัวเอง สูบบุหรี่ ปล่อยให้ความดันเลือดและไขมันสูง แล้วอายุเกิน 50 ปี จะมีอายุสั้นกว่าคนปกติได้ถึง 10 ปี...

ส่วนที่เหลือ ผู้ชายวัยกลางคนที่ไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยให้ความดันเลือดและไขมันขึ้นสูงอาจจะต้องเสียชีวิต หนีเพื่อนที่แข็งแรงกว่าไปก่อนกันได้ตั้ง 10 ปี มูลนิธิโรคหัวใจของอังกฤษได้ทำการศึกษาบรรดาข้าราชการที่ในวัย 40-69 ปี จำนวนไม่ต่ำกว่า 19,000 คน และยังติดตามต่อมาอีกไม่ต่ำกว่า 38 ปี ได้ผลสรุปว่า ผู้ที่ไม่ยอมดูแลตัวเอง ยังคงสูบบุหรี่ ปล่อยให้ความดันเลือดและไขมันสูง ซึ่งวัยเกิน 50 ปีไปแล้ว จะมีอายุสั้นกว่าคนปกติได้ถึง 10 ปีคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดผู้ทำการวิจัยได้เลือกเอาปัญหาเรื่องการสูบบุหรี่ ความดันเลือดสูง และไขมันสูงขึ้นพิจารณา เนื่องจากสาเหตุทั้งสามล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงใหญ่ของ โรคหัวใจและหลอดเลือดศาสตราจารย์ปีเตอร์ ไวส์เบิร์ก ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ของมูลนิธิ ได้ชี้แจงว่า ยังดีที่มีข่าวดีว่า ทุกคนถ้าหากปรับเปลี่ยนตัวเสียใหม่ ก็สามารถอยู่ได้อย่างเป็นสุข อายุยืนขึ้นได้ ถึงจะอายุเลย 50 ปีไปแล้ว

Read More

นักธรรมชาตินิยมชาวอังกฤษรับบทโหด ชี้ควรปล่อยให้"แพนดา"สูญพันธุ์ไปตามทฤษฎีวิวัฒนาการ



นักธรรมชาตินิยมชาวอังกฤษมาแปลก ระบุควรปล่อย "แพนดา" ให้สูญพันธุ์ไปตามทฤษฎีวิวัฒนาการ เพราะเป็นสายพันธุ์อ่อนแอ ชี้น่าจะนำเงินมหาศาลไปลงทุนอนุรักษ์สัตว์ชนิดอื่นมากกว่าคริส แพ็คแคม นักธรรมชาตินิยมชาวอังกฤษผู้ยึดมั่นในทฤษฎีวิวัฒนาการ ออกมาแสดงความคิดเห็นอันขวางโลกกับสถานีวิทยุบีบีซีว่า

ส่วนที่เหลือ นักอนุรักษ์สัตว์ทั้งหลายควรจะปล่อยให้หมีแพนดาค่อย ๆ สูญพันธุ์ไปตามธรรมชาติ เพราะตามสถิติแล้วสัตว์ชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ตามทฤษฎีวิวัฒนาการ นักธรรมชาตินิยมผู้นี้ ซึ่งมีสถานะเป็นประธานกองทุนอนุรักษ์ค้างคาวแห่งสหราชอาณาจักร และ รองประธานกองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่า ยังเชื่อว่า เงินจำนวนมากที่ถูกใช้ไปในการอนุรักษ์หมีแพนดา ควรจะถูกนำไปลงทุนในการอนุรักษ์สัตว์ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากหมีแพนดาเป็นสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะอยู่รอดบนโลกนี้ได้ด้วยตนเอง
"มันไม่ใช่สายพันธุ์ที่มีความแข็งแรง แต่มันตัวใหญ่ น่ารัก รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ของ WWF (กองทุนเพื่อธรรมชาติทั่วโลก) และพวกเราก็ทุ่มเงินหลายล้านปอนด์เพื่ออนุรักษ์หมีแพนดา อย่างไรก็ตาม ผมกลับคิดว่าเราต้องปล่อยให้สัตว์ชนิดนี้ค่อย ๆ ลดจำนวนลง ตามชะตากรรมของตัวมันเอง" แพ็คแคม กล่าว
แต่ความเห็นของแพ็คแคมกลับถูกโต้แย้งจาก ดร.มาร์ค ไรต์ ที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์ของ WWF ซึ่งกล่าวว่า "มันเป็นเรื่องโง่เง่าและไร้ความผิดชอบที่คริสต์ออกมาแสดงความเห็นเช่นนั้น" และระบุว่า "สัตว์ชนิดนี้พยายามปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ที่ตัวมันเองอาศัยอยู่ตลอดมา ดังนั้น หมีแพนดาจึงอาศัยอยู่ในภูเขาซึ่งมีต้นไผ่ขึ้นมากเพียงพอให้พวกมันกินได้"
นอกจากแสดงความเห็นไม่สนใจไยดีต่อชะตากรรมของหมีแพนดาแล้ว แพ็คแคมก็ยังมีมุมมองที่เพิกเฉยต่ออนาคตของสัตว์ที่อยู่ในภาวะใกล้จะสูญพันธ์อย่างเสือเช่นกัน
"ผมไม่คิดว่าเสือจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังคงอยู่ในอีก 15 ปีข้างหน้า ผมอยากถามว่าพวกคุณจะสามารถอนุรักษ์สัตว์ซึ่งควรจะตายมากกว่ามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร? คุณไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้" นักธรรมชาตินิยมชาวอังกฤษกล่าว

Read More